|
|
|
เคล็ด(ไม่)ลับการดูแลคอมพิวเตอร์ |
การทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานได้นานๆ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนให้ความสนใจ
ดังนั้น การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน แต่หลักการหรือวิธีการแก้ไขที่
ี่นำเสนอในครั้งนี้ เป็นแค่วิธีการที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ใช้งาน ที่เราสามารถซ่อมหรือตรวจสอบ
ได้ด้วยตัวเอง ถ้าอย่างกรณีที่เกิดขึ้นกับระบบการทำงานข้างในของเครื่อง คงจะต้องไปพึ่งพาช่างที่ชำนาญมาตรวจสอบจะเป็นการดีที่สุด
กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันอยู่ทุกวันเกิดวันหนึ่งไม่สามารถเปิดเครื่องขึ้นมาใช้งานได้ ดังนั้นวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็คือ
ตรวจสอบดูว่า สายไฟหรือปลั๊กไฟ แน่น หรือไม่ สายไฟมีปัญหาหรือไม่ เมื่อทำการตรวจดูแล้วว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่เสียหรือไม่ชำรุด ก็แน่ใจได้เลยว่า คอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหาอย่างแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ต้องตรวจสอบอันดับแรกคือ พาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งการตรวจสอบคือ ดูที่พัดลมด้านหลังของเครื่องถ้าพัดลม
ไม่ทำงานก็ต้องยกเครื่องไปซ่อมที่ร้าน หรือไม่ก็ซื้อพาวเวอร์ซัพพลายใหม่ ส่วนอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานคือ
ฮาร์ดดิสค์์์ซึ่งถ้าปัญหาดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับเครื่องของคุณสิ่งที่ต้องปฏิบัติอันดับแรก
คือทำการแบ็กอัพข้อมูลทั้งหมด ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ค่ะ
อาการที่พบคือ ภาพสั่นหรือภาพแตกเป็นเส้น วิธีการแก้ไขคือ ให้ปิดจอภาพทิ้งไว้ ซักครู่
แล้วเปิดใหม่ ถ้าอาการดังกล่าวไม่หาย ให้ตรวจสอบดูว่า มีแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กอยู่ข้างๆ ตัวเครื่องหรือเปล่า เนื่องจากสนามแม่เหล็กนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาพไหว
ปัญหาของ หน่วยความจำ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เครื่องคอมพ์ของเราไม่ทำงาน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากหน่วยความจำที่ไม่เพียงพอ วิธีการแก้ไขก็คือ ทำการปิดโปรแกรม TSR
ออกไป (ซึ่งโปรแกรม ดังกล่าวนี้เป็นโปรแกรมที่ฝังตัวในหน่วยความจำ โดยจะมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา)
หรือ จะทำการซื้อหน่วยความจำมาติดตั้งในเครื่องเพิ่มก็ได้ค่ะ
การดูแลรักษาคีย์บอร์ด
การดูแลรักษา คีย์บอร์ดในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ น้ำหกใส่ในตัวคีย์บอร์ด โดยวิธีการแก้ไข คือ ขั้นตอนแรกต้องรีบทำการปิดเครื่องให้เร็วที่สุด จากนั้นคว่ำคีย์บอร์ดลง เพื่อให้น้ำไหลออกจากตัวคีย์บอร์ด แล้วเริ่มทำการแกะปุ่มต่างๆ ของคีย์บอร์ด โดยใช้ไขควงขนาดเล็กทำการแงะเอาแป้นพิมพ์แต่ละตัวออก จากนั้นใช้สำลีพันก้านไม้เช็ดคราบน้ำตามช่องต่างๆ ให้แห้ง แล้วใช้ก้านสำลีชุปแอลกอฮอล์เช็ดซ้ำอีกครั้ง เพื่อทำความสะอาดคราบสกปรกต่างๆ เพียงเท่านี้ก็สามารช่วยให้คีย์บอร์ดทำงานได้ตามปกติแล้วค่ะ
ส่วนอีกปัญหาหนึ่งที่มักจะพบกับการใช้งานคีย์บอร์ดคือ ปุ่มกดต่างๆ กดไม่ค่อยลง เวลาพิมพ์งานจะเกิดปัญหาพิมพ์ไม่ติด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดมาจากความสกปรกนั่นเองครับ วิธีแก้ไขก็คล้ายๆ กับกรณีคีย์บอร์ดถูกน้ำหกใส่ คือทำการแกะปุ่มต่างๆ ของคีย์บอร์ดออกให้หมด
ยกเว้นปุ่ม Spacebar และปุ่ม Enter ซึ่งทั้งสองปุ่มนี้จะยากต่อการประกอบคืน สำหรับวิธีการแกะแป้นพิมพ์ก็สามารถทำได้โดยใช้ไขควงขนาดเล็กงัดแป้นพิมพ์แต่ละตัวออก จากนั้นใช้สำลีพันก้านไม้ชุปแอลกอฮอล์เช็ดคราบสกปรกต่างๆ ที่ตกค้างในคีย์บอร์ดออกให้หมด เมื่อเช็คเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วทำการประกอบคีย์บอร์ดกลับเข้าที่เหมือนเดิม ด้วยการดูแลรักษาเพียงปฏิบัติง่ายๆ เท่านี้ เราก็สามารถใช้งานคีย์บอร์ดได้ตามปกติ โดยไม่ต้องไปเสียเงินจ้างช่างมาซ่อม
การดูแลรักษาเมาส์์
จากการที่เราใช้งานเมาส์ ไปนานๆ มักจะพบปัญหากรณีที่ เมาส์ทำการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว หรือคลิกซ้าย
คลิกขวาไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นจากความสกปรกของลูกกลิ้งสัมผัสนั่นเองครับ วิธีแก้ไขคือ ทำความสะอาดเมาส์ โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนแรกเปิดฝาครอบเมาส์ออก นำลูกกลิ้งมาทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ จากนั้นสังเกตแกนสัมผัสลูกกลิ้งที่อยู่ในช่องใส่ลูกกลิ้ง ถ้ามีคราบดำๆ พันอยู่รอบแกนให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่ง เสร็จแล้วทำการทดสอบด้วยการหมุนลูกกลิ้งไปมา ถ้ายังฝืดหรือกลิ้งไม่สะดวกก็ให้ทำความสะอาดซ้ำอีก
สำหรับกรณีที่เมาส์ไม่สามารถทำการคลิกซ้ายหรือขวาไม่ค่อยติดนั้น วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดเมาส์โดยหยดแอลกอฮอล์ลงไปตรงบริเวณปุ่มซ้าย-ขวา ของเมาส์ ปล่อยทิ้งไว้ซักครู่แล้วทำการหยดแอกอฮอล์ซ้ำอีก 2-3 ครั้ง ถ้ามีน้ำยาล้างหัวเทปทั่วไปแทนการใช้แอกอฮอล์ทำความสะอาดก็ได้ค่ะ เท่านี้ก็สามารถช่วยให้เมาส์เคลื่อนที่หรือใช้งานได้ตามปกติ
ปัญหาของ เครื่องพิมพ์์์ สำหรับปัญหาที่เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์นี้ที่พบบ่อยคือ ปัญหากรณีที่เครื่องพิมพ์ไม่สามารถพิมพ์งานได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้มีสาเหตุมาจากหลายกรณีด้วยกัน แต่ที่พบบ่อยคือ
สาเหตุเนื่องมาจากหัวของเครื่องพิมพ์อุดตัน
ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ต้องแก้ไขที่ต้นเหตุคือ หมึกพิมพ์ ดังนั้นถ้าต้องการใช้เครื่องพิมพ์ พิมพ์งานบ่อยๆ ไม่ควรซื้อหมึกชนิดเติมมาใช้ เนื่องจากหมึกชนิดนี้เวลาที่เราเติมลงไปจะไปทับกับหมึกเก่าที่ตกค้างอยู่ในตลับหมึก ซึ่งจะเป็นสาเหตุในการทำให้หัวพิมพ์อุดตันได้ค่ะ หรือแม้แต่การใช้หมึกพิมพ์ชนิดเปลี่ยนตลับใหม่ก็ตาม ดังนั้นถ้าไม่ต้องการให้หัวพิมพ์อุดตันละก็ ต้องทำการเปิดเครื่องพิมพ์อยู่ตลอดเวลาซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้จะช่วยให้การอุดตันของหมึกพิมพ์ลดน้อยลงไป ทั้งนี้เนื่องมาจากการเปิดเครื่องพิมพ์แต่ละครั้งระบบการทำงานของเครื่องจะทำการล้างหัวพิมพ์
โดยอัตโนมัติ หมึกที่อยู่บริเวณหัวพิมพ์จะมีการถ่ายเทอยู่เสมอ จึงทำให้หมึกไม่แห้งและไปอุดตันหัวเครื่องพิมพ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามครับการปฏิบัติดังกล่าวนี้จะทำให้สูญเสียหมึกพิมพ์ไปกับ
การเปิดเครื่องครั้งละประมาณ 1% ของจำนวนน้ำหมึกที่อยู่ในตลับ
การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ยากเลยใช่ไหม
เราเองก็สามารถซ่อมด้วยตัวเองได้ แต่อย่างไรก็ตามอยากจะฝากซักนิดหนึ่งว่า อุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์บางอย่างเราไม่สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขได้ด้วยตัวเอง หรือถ้าไม่มั่นใจในการตรวจสอบแก้ไขแล้วละก็ ทางที่ดีควรจะส่งซ่อมกับช่างที่ชำนาญจะดีกว่า ถ้าขืนซ่อมเองอาจจะทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวเกิดความเสียมากกว่าเดิม เดียวจะเป็นอย่างคำพังเพยที่ว่า "เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย" ก็ได้
Prev: 10 เทคนิคซ่อมคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเอง |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549-2551 PSN Computer Solution Co., Ltd.
363 ซอยพัฒนาการ 38 ถนนพัฒนาการ แขวง/เขตสวนหลวง กทม. 10250
Tel: 02-713-7121-2 Fax: 02-713-7122 ต่อ 18 ติดต่อเว็บมาสเตอร์: webmaster@psncomputer.com |